สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้ ข้อกำหนดตัวอย่าง

สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้. ในบริบทของสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจนั้น ผู้เรียนจะได้ศึกษา และปฏิบัติเกี่ยวเทคโนโลยีทางด้าน คอมพิวเตอร์ ทั้งซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบันสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่าง รวดเร็ว ทําให้ผู้เรียนต้องมีความรู้ ทักษะ ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการเรียนการสอน และการทํางาน หากจัดการเรียนด้วยการบรรยาย และสื่อ Power point และตําราเรียนเพียงอย่างเดียว จะไม่เกิดการเรียนรู้ที่ สนุกสนาน น่าสนใจและได้รับความรู้ความเข้าใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทักษะการอ่าน การเขียน การวิเคราะห์และ ทักษะในการปฏิบัติ ซึ่งส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ําสําหรับผู้เรียนบางคนที่ไม่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ ผู้สอนจึงมีแนวความคิดที่จะนําเทคโนโลยีสื่อนวัตกรรมมา การปรับประยุกต์ และพัฒนาทักษะการจัดการ เรียนการสอนของผู้เรียน จึงได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชาระบบปฏิบัติการ มาแก้ปัญหาด้วยการใช้ กระบวนการเรียนแบบร่วมมือเป็นกลุ่มให้กับนักเรียน เพื่อมุ่งเน้นให้นักเรียนสร้างความรู้จากประสบการณ์เดิม มี ปฏิบัติสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มผู้เรียน และครูผู้สอน มีการสื่อสารโดยการอ่าน การพูด การเขียน แลกเปลี่ยนกัน ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และงานที่ได้รับมอบหมาย
สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้. การจัดการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21 เรื่องของเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามามีบทบาทสําคัญในการศึกษาเป็น อย่างมาก ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างตลอดเวลาและต่อเนื่อง ดังนั้นการจัดการศึกษาจึงต้องมีรูปแบบที่ เหมาะสม สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม เทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงของโลก และในยุค Education
สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้. ในบริบทของวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาอาชีพช่างอุตสาหกรรมนั้น ผู้เรียนจะได้ศึกษา ในเรื่องการวัดและ ปริมาณเวกเตอร์ แรง การรวมแรงและการแยกแรง การสมดุลของวัตถุ ฯลฯ ซึ่งวิชาในการคำนวณ เป็นวิชาที่ ผู้เรียนคะแนนผลสัมฤทธิ์ต่ำ เนื่องด้วยผู้เรียนไม่เข้าใจ ไม่สามารถคำนวณออกมาได้ หากจัดการเรียนด้วยการ บรรยาย และสื่อ Power point และตำราเรียนเพียงอย่างเดียว จะไม่เกิดการเรียนรู้ที่เป็นระบบ ซึ่งส่งผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนก็จะต่ำเหมือนเดิม ผู้สอนจึงมีแนวความคิดที่จะนำเทคนิคการสอนรูปแบบที่เหมาะสมกับวิชาที่ใช้ในการคำนวณมา การปรับ ประยุกต์ และพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอนของผู้เรียนให้เป็นขั้นตอน เป็นระบบมากขึ้น จึงได้จัดกิจกรรม การเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาอาชีพช่างอุตสาหกรรม มาแก้ปัญหาด้วยการใช้เทคนิคการสอน แบบ KWDL เพื่อมุ่งเน้นให้นักเรียนฝึกการคิดวิเคราะห์ คำนวณอย่างเป็นระบบ ขั้นตอน แก้ปัญหาเป็น
สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้. การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นการประมวลแนวคิดทางการเรียนรู้ หลักการสอนกระบวนการเรียนรู้วิธีสอนที่ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเป็นผู้ค้นคว้าความรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนมีส่วนร่วม ในการเรียน เรียนรู้ด้วยตนเอง เพิ่มพูนทักษะและเจตคติที่มีความคิดที่เป็นกระบวนขั้นตอน นำประสบการณ์ การเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ วิชาสังคมศึกษาเป็นหนึ่งในวิชาพื้นฐาน 8 กลุ่มสาระที่กำหนดให้ เรียนในระดับชั้นการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยความสำเร็จของการเรียนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม คือการที่ผู้เรียนเข้าใจและนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ การจัดการเรียนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์ จึงเชื่อมโยงให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ การใช้ชีวิตที่ ถูกต้องอยู่อย่างมีความสุข โดยเรียนผ่านสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นในห้องหรือในโรงเรียน หรือวิเคราะห์ จาก ตัวอย่างสถานการณ์ที่เป็นจริงในสังคม เพื่อให้ผู้เรียนฝึกคิด วิเคราะห์ รู้ทันการเปลี่ยนแปลง รู้จักตัวเอง สามารถจัดการชีวิตของตัวเอง และมีวิถีชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข แต่จากการจัดการเรียนการสอน วิชาสังคมที่ผ่านมาพบว่าผู้เรียนยังขาดทักษะเหล่านี้อยู่มาก ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการ เรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมลดลง ดังนั้น เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะที่สำคัญตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ผู้สอนจึงได้ศึกษาและนำวิธีการสอนโดยใช้กระบวนการ GPAS 5 Steps พัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1
สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้. สภาพปัญหาของผู้เรียนที่ใช้ภาษาไทย ยังพบปัญหาอย่างมากในการเขียนให้ถูกต้องตามหลักการใช้ ภาษาไทย ซึ่งผู้เรียนขาดทักษะพื้นฐานสําคัญในการสะกดคํา การฝึกแจกลูกสะกดคํา การใช้คําศัพท์ผิดบ่อยครั้งจึงส่งผลให้ ผู้เรียนไม่สามารถสื่อสารได้เท่าที่ควร ซึ่งแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบเดิมยังไม่ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เท่าที่ควร เนื่องมาจากบริบทของสิ่งแวดล้อม การเข้าถึงสื่อ/เทคโนโลยีของผู้เรียนค่อนข้างไม่ครอบคลุม จึงส่งผลให้การ จัดการเรียนรู้ต่อผู้เรียนยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ดังนั้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาทักษะการเขียนที่ดีขึ้น ครูผู้สอนจึงใช้วิธีการ ประยุกต์จากเทคโนโลยีด้วยบทเรียนสําเร็จรูปทักษะการเขียนคําผสมผสานกับทักษะการเขียนเรียงความด้วยเทคนิค บันได 4 ขั้น จากความรอบรู้เกี่ยวกับอาชีพในชุมชนของตนเองหรือเหตุการณ์ปัจจุบันที่สนใจ ประกอบไปด้วย
สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้. ตามนโยบายยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์ ที่ 3 ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ซึ่ง สนับสนุนการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพของสถานศึกษาเอกชน สถานประกอบการ และเครือข่ายในการ จัดทำแผนการฝึกร่วมกับสถานประกอบการ ให้มีมาตรฐานและคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาระบบ ทวิภาคีการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพในระบบทวิภาคี เป็นการจัดการศึกษาวิชาชีพที่เกิดจากข้อตกลง ระหว่างสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันกับสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ ในเรื่องการจัด หลักสูตร การเรียนการสอน การวัดและการประเมินผล โดยผู้เรียนใช้เวลาส่วนหนึ่งในสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบัน และเรียนภาคปฏิบัติในสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ ดังนั้น วิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน จึงมีนโยบายจัดทำเครื่องมือสำหรับการบูรณาการและการแปลงแผน ยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติที่ชัดเจนและผลักดันภารกิจต่างๆ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์บรรลุเป้าประสงค์และวิสัยทัศน์ของวิทยาลัยฯ สามารถตอบสนองเป้าหมายและผลลัพธ์ในเชิงยุทธศาสตร์ได้อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน จากการดำเนินการอบรมพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการ ตามนโยบายและภารกิจของสถานศึกษา ซึ่งสอดคล้อง กับยุทธศาสตร์ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จุดเน้นคณะ รักษาความสงบแห่งชาติ กรอบการใช้จ่ายงบประมาณ คณะกรรมการการอาชีวศึกษา และมาตรฐานสถานศึกษา เพื่อการ ประกันคุณภาพสถานศึกษา จากการเรียนการสอนที่ผ่านมาของครูฝึกกับนักเรียน นักศึกษา ฝึกอาชีพ/ฝึ กประสบการณ์ วิชาชีพ มีการพัฒนาในการจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคีและมีการพัฒนาความร่วมมืออย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพ ส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา มีทักษะ มีความรู้ ความเข้าใจในการทำงาน
สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้. ในการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านมานักเรียนมีความสับสนใจในการคำนวณหาจำนวนผลของการ ทดลองสุ่ม และไม่สามารถเขียนแจกแจงผลลัพธ์ได้ครบทุกกรณี และมีปัญหาในการหาจำนวนผลลัพธ์ในปริภูมิตัวอย่าง และในการทดลองสุ่ม จึงส่งผลให้ในการหาค่าความน่าจะเป็นผิดพลาดไปด้วย และอีกปัญหาในการจัดการเรียนรู้คือ นักเรียนไม่มีหนังสือเรียนในเรื่อง ความน่าจะเป็น ของรายวิชาพื้นฐานโดยตรง ครูผู้สอนต้องใช้ใบงาน ใบกิจกรรม และ ใบความรู้ในการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียน ซึ่งทำให้ใบงานต่าง ๆ สูญหายได้ง่าย ดังนั้น ครูผู้สอนจึงจัดทำข้อตกลงในการ พัฒนางานประเด็นท้าท้าย โดยการสร้างชุดการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น เพื่อพัฒนามโนทัศน์ทาง คณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้. จากการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมา พบว่านักเรียนยังจดจำคำศัพท์ไม่ค่อยได้ ถึงจำได้ แต่ก็ยังจำไม่ ค่อยแม่น ทำให้ส่งผลต่อการเรียนรู้ภาษา ทั้งยังขาดสิ่งกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน ส่งผลให้ผู้เรียนมี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ซึ่งคำศัพท์ ถือเป็นองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้ภาษา การที่ผู้สื่อสาร จะสื่อสารภาษาได้เข้าใจมากนั้น คลังคำศัพท์ของผู้สื่อสารจึงจำเป็นยิ่งในการสื่อสารและถ่ายทอด อีกทั้งเป็น จุดเริ่มต้นการพัฒนาทักษะด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน หากผู้เรียนสามารถจดจำและเรียนรู้คำศัพท์ได้มาก ก็จะ เป็นประโยชน์ต่อการสื่อสารและเข้าใจความหมายในการสื่อสารภาษา ด้วยเหตุนี้จึง เป็นที่มาของการประยุกต์ใช้เกม Quizizz มาพัฒนาทักษะการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีน เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น มีความสนุกสนานเพลิดเพลินในการเรียนเพื่อสร้าง แนวทางที่เหมาะสมในการนำไปพัฒนารูปแบบและกระบวนการการจัดการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มี ประสิทธิภาพ
สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้. สภาพปัญหาของผู้เรียนด้านภาษาอังกฤษยังพบปัญหาอย่างมากในการคิด วิเคราะห์ และการแก้ปัญหาโดย ใช้การอ่านและการเขียนในรายวิชาภาษาอังกฤษเนื่องจากนักเรียนไม่เข้าใจถึงการอ่านและการเขียนในรายวิชา ภาษาอังกฤษซึ่งแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบเดิมยังไม่ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เท่าที่ควร เนื่องมาจาก บริบทของสิ่งแวดล้อม การเข้าถึงสื่อ/เทคโนโลยีของผู้เรียนค่อนข้างไม่ครอบคลุม จึงส่งผลให้การจัดการเรียนรู้ต่อผู้เรียน ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ดังนั้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาทักษะกระบวนการแนวคิดเชิงคํานวณที่ดีขึ้น ครูผู้สอนจึงใช้ วิธีการประยุกต์จากเทคโนโลยีด้วยแบบการใช้บทเรียนจากสื่อของโปรแกรม PowerPoint และการจัดกิจกรรมการ เรียนการสอนในรูปแบบ Active Learning ซึ่งนวัตกรรมที่นํามาปรับประยุกต์ใช้ในการพัฒนาความสามารถในการ แก้ปัญหาโดยใช้การอ่านและการเขียนในรายวิชาภาษาอังกฤษควรมีลักษณะเร้าความสนใจของผู้เรียนท้าทาย ความสามารถ เข้าใจง่าย มีภาพ เสียง วิดีโอประกอบ วางรูปแบบสวยงามและสามารถฝึกได้ด้วยตนเอง อันจะส่งผลให้ นักเรียนได้พัฒนาทักษะการแก้ปัญหาโดยใช้การอ่านและการเขียนในรายวิชาภาษาอังกฤษและประยุกต์ความรู้ไปใช้ใน ชีวิตประจําวันได้ บทเรียนจากสื่อของโปรแกรม PowerPoint มีความสําคัญและมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนวิชา ที่เป็นทักษะมาก เพราะเป็นสื่อการสอนที่ช่วยลดภาระของครู ช่วยให้นักเรียนได้ฝึกทักษะให้ดีขึ้น ส่งเสริมในเรื่องความ แตกต่างระหว่างบุคคล ทําให้นักเรียนประสบผลสําเร็จในทางจิตใจมากขึ้น ช่วยเสริมทักษะแนวคิดเชิงคํานวณให้คงทน รวมทั้งเป็นเครื่องมือวัดผลการเรียนหลังจากเรียนบทเรียนแล้ว ตลอดจนนักเรียนสามารถทบทวนได้ด้วยตนเอง ทําให้ครู มองเห็นปัญหาต่าง ๆ ของนักเรียนได้ชัดเจน นักเรียนสามารถฝึกฝนได้เต็มที่นอกเหนือจากที่เรียนในเวลาเรียนซึ่งทําให้ ผู้เรียนเห็นความก้าวหน้าของตนเอง เพื่อให้กิจกรรมมีความหลากหลาย ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สามารถนําไป ประยุกต์ใช้ได้ อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนฝึกฝนทักษะได้ทุกเวลาจากเทคโนโลยีซึ่งทําให้กิจกรรมน่าสนใจมาก ยิ่งขึ้น
สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้. ในการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านมา พบว่าผู้เรียนยังขาดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้น ครูผู้สอนจึงจัดทําข้อตกลงในการพัฒนางานประเด็นท้าท้าย เรื่อง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4